การรักษา ภาวะแทรกซ้อน การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก
ถ้าพูดถึงมะเร็งปากมดลูกทุกคนคงกำลังสงสัยกันใช่ไหมคะ ว่าหากเราเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้วจะมีการรักษาให้หายได้หรือไม่ หากรักษาแล้วจะเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาหรือไม่ และจะมีวิธีการป้องกันสำหรับโรคนี้หรือไม่ insuredd เรามีวิธีการรักษาพร้อมบอกภาวะแทรกซ้อน และขั้นตอนการป้องกันมะเร็งปากมดลูกมากฝากทุกๆ คนเลยค่ะ
การรักษามะเร็งปากมดลูก
ขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะขึ้นอยู่กับระยะและอาการของผู้ป่วยแต่ละคน โดยก่อนรับการรักษาแพทย์กับผู้ป่วยจะต้องปรึกษาและตัดสินใจร่วมกันเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียของการรักษา แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงผลกระทบและภาวะแทรกซ้อนหลังการรักษา การเลือกประเภทการรักษาตามระยะการป่วยของผู้ป่วย โอกาสและเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จจากการรักษา มีดังนี้
การรักษาระยะแรก : ในการรักษาระยะแรกหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธีจะได้ผลที่ดีเกือบ 100% ซึ่งจะแบ่งการรักษาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- การทำลายเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก
- การตัดมดลูกเพื่อนำเอามดลูกและปากมดลูกออกทั้งหมด
- การรักษาโดยใช้รังสีรักษา

การรักษาระยะที่ 1 : ในการรักษาระยะแรกหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธีจะมีอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี สูงถึง 80-90% ซึ่งจะแบ่งการรักษาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- การรักษาโดยการผ่าตัด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ 1.การผ่าตัดมดลูก โดยอาจผ่าตัดรังไข่และท่อนำไข่ทั้งสองข้างด้วย 2.การผ่าตัดมดลูกแบบถอนรากร่วมกับการตัดต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน
- การรักษาโดยการใช้รังสีรักษา
- การรักษาโดยการให้รังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด
การรักษาระยะที่ 2 : ในการรักษาระยะแรกหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธีจะมีอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี สูงถึง 60-70% ซึ่งจะแบ่งการรักษาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- การรักษาโดยการผ่าตัดมดลูกแบบถอนรากร่วมกับการตัดต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน
- การรักษาโดยการให้รังสีรักษา ซึ่งจะต้องให้ทั้งฉายรังสีร่วมกับการใส่แร่
- การรักษาโดยการให้รังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด

การรักษาระยะที่ 3 : ในการรักษาระยะแรกหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธีจะมีอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี สูงถึง 40-50% โดยการรักษาด้วยการให้รังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถให้ยาเคมีบำบัดได้ แพทย์อาจจะให้การรักษาด้วยรังสีรักษาผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว ซึ่งการรักษาด้วยรังสีรักษานี้จำเป็นต้องให้ทั้งฉายรังสี ร่วมกับการใส่แร่
การรักษาระยะที่ 4 : ในการรักษาระยะแรกหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธีจะมีอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี สูงถึง 0-20% ซึ่งจะแบ่งการรักษาออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
- การรักษาโดยการให้รังสีรักษาร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งการให้รังสีรักษานี้จะต้องให้ทั้งฉายรังสี ร่วมกับการใส่แร่ โดยมักจะให้การรักษาในผู้ป่วยที่มะเร็งกระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง คือ กระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้ใหญ่แล้ว และผู้ป่วยจะต้องมีสภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเท่านั้น
- การรักษาด้วยการให้รังสีรักษา เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย และเพื่อช่วยลดอาการที่เกิดจากมะเร็ง เช่น มีอาการปวด มีเลือดออก
- การรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ
- การรักษาแบบประคับประคองไปตามอาการ ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถให้การรักษาด้วยวิธีการรักษามะเร็ง เช่น การผ่าตัด รังสีรักษา และยาเคมีบำบัดได้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของยาเคมีบำบัด อายุ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

ภาวะแทรกซ้อนมะเร็งปากมดลูก
ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาจะแตกต่างกันออกไปตามที่ผู้ป่วยได้รับการรักษา และภาวะแทรกซ้อนอาจจะพบได้มากขึ้นหากผู้ป่วยได้รักการรักษาร่วมกันหลายวิธี ดังนี้
- ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ได้แก่ การได้รับการบาดเจ็บจากการผ่าตัดอวัยวะข้างเคียง การมีเลือดออก การติดเชื้อ อาการปวด และหากได้รับการผ่าตัดเอามดลูกออกจะทำให้ผู้ป่วยไม่มีลูกได้อีก หรือการผ่าตัดเอารังไข่ทั้งสองข้างออก ผู้ป่วยก็จะมีภาวะหมดประจำเดือนและมีอาการของวัยทองได้
- ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยการให้รังสีรักษา ได้แก่ ผิวหนังในบริเวณที่ทำการฉายรังสีเกิดเป็นแผลถลอก เป็นแผลเปียกคล้ายแผลถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลมีขนาดใหญ่ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยการให้ยาเคมีบำบัด ได้แก่ ผมร่วง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น ซึ่งผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นนี้จะแตกต่างกันออกไปในผู้ป่วยแต่ละรายโดยขึ้นอยู่กับชนิดของยาเคมีบำบัด อายุ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์แบบเสรีหรือไม่ปลอดภัย เพื่อป้องกันการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดอยู่เสมอ
- ฝ่ายชายควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ทางเพศสัมพันธ์
- รับประทานผักและผลไม้ให้มาก ๆ เป็นประจำ
- ไม่ควรสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส
- พยายามรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี เพื่อหามะเร็งปากมดลูกในระยะแรกที่ยังไม่แสดงอาการ

อย่างไรก็ตามโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถรักษาให้หายได้ ถ้าคุณไดรับการรักษาอย่างถูกต้องและถูกวิธี แต่หากคุณยังไม่มั่นใจก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์โดยทันที เพื่อให้แพทย์ตรวจร่างกายอย่างละเอียด และคุณอย่าลืมดูแลเรื่องสุขภาพให้มากๆ เพื่อป้องกันโรคร้ายเหล่านี้ค่ะ
สามารถปรึกษาสอบถาม ประกันสุขภาพผู้สูงอายุและประกันอื่นๆ ฟรี !! ได้ที่ 02-8415050 หรือ line: @insuredd