บาดแผล (Wound)
คือ การที่ผิวหนัง และเนื้อเยื่อต่างๆมีการฉีกขาดเนื่องจากได้รับบาดเจ็บ (Trauma) ซึ่งการเกิดบาดแผลจะทำให้เกิดการปริแยก หรือฉีกขาดของผิวหนัง และเนื้อเยื่อปกติ ซึ่งการฉีกขาดนี้เป็นช่องทางให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่เนื้อเยื่อได้ แต่ร่างกายก็มีกระบวนการที่จะทำให้บาดแผลหาย ให้มีการประสานผิวหนังให้กลับมาติดกันได้
บาดแผล นับเป็นปัญหาเวชปฏิบัติที่สำคัญ เนื่องจากอุบัติภัยต่างๆพบได้บ่อยมากเป็นอัน ดับต้นๆในปัญหาทางสาธารณสุข และในเหตุการณ์นั้นๆย่อมเกิดบาดแผลร่วมด้วยเสมอ นอกจากนี้ในชีวิตประจำวัน อุบัติเหตุต่างๆก็ทำให้เกิดบาดแผลได้บ่อยๆ
เนื่องจากบาดแผลเกิดได้ทั้งที่เนื้อเยื่อ/อวัยวะภายนอกที่มองเห็นได้ เช่น ที่ผิวหนัง และกับอวัยวะภายในที่มองไม่เห็น เช่น อวัยวะในช่องท้อง เป็นต้น ในที่นี้จะเน้นเฉพาะแผลที่เห็นจากภายนอกเท่านั้น
บาดแผล จะมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใดนั้นจำแนกได้ตามความลึกของบาดแผลและโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อ ความเสี่ยงของการติดเชื้อ อาจเพิ่มขึ้นหากแผลถูกทิ้งไว้นานโดยไม่รักษา บาดแผลมีเศษวัสดุแปลกปลอมอยู่ ตำแหน่งที่เกิดแผล การมีเนื้อเยื่อตาย ปัจจัยอื่น ๆ ของตัวผู้ป่วย เช่น อายุ ภาวะสุขภาพ ภาวะโภชนาการ ยาที่ใช้ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่จะเพิ่มความเสี่ยงที่บาดแผลจะติดเชื้อได้ง่าย
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- ห้ามเลือดโดยการกดบาดแผลด้วยมือหรือนิ้วที่สะอาด หรือใช้ผ้าสะอาดปิดแน่นๆอย่างน้อย 5 นาที ถ้าเลือดไหลไม่หยุด บาดแผลมีขนาดใหญ่ กว้างและลึก มีเลือดออกมา แนะนำผู้ป่วยไปพบแพทย์
- ล้างแผลและทำความสะอาดรอบๆแผล ถ้าแผลสกปรกมาก ควรล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่อ่อนๆ หรือเกลือล้างแผล เพื่อขจัดสิ่งสกปรก
- เช็ดรอบแผลให้แห้งโดยใช้ผ้าสะอาด หรือผ้าก๊อซสะอาด
- ใสยาฆ่าเชื้อ เช่น โพวีโดน-ไอโอดีน และใช้ผ้าก๊อซสะอาดปิดแผลไว้
ประเภทของบาดแผล |
การดูแลบาดแผล |
แผลผ่าตัด แผลถูกแทงทะลุ จากเสี้ยนหรือตะปู |
|
แผลไหม้ |
|
การฉีกขาดของผิวหนัง |
|
แผลเปื่อย |
|
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย
- .ทำความสะอาดบาดแผล ด้วยสบู่อ่อน ๆ และน้ำ
- ล้างแผลอย่างระมัดระวัง ให้สะอาดพอที่จะกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ
- ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลที่ปราศจากเชื้อและระบายอากาศได้ดี
- สังเกตแผลว่าเกิดการติดเชื้อหรือไม่ เช่น ผิวหนังมีสีแดงกระจายรอบบาดแผล มีหนองไหลออกจากบาดแผล
- ทำความสะอาดบาดแผลทุกครั้งที่เปลี่ยนผ้าพันแผล
- การใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาภายนอก
- ไม่ควรแกะสะเก็ดในขณะที่แผลกำลังจะหาย พยายามทำให้บริเวณนั้นชุ่มชื้น
- รับประทานอาหารที่มีโปรตีน และวิตามินเอ ซี ดี และอีสูง เนื่องจากจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
- ใช้ยาแล้ว แผลไม่ดีขึ้นหรือแย่กว่าเดิม ให้ปรึกษาแพทย์ทันที
ทางเลือกในการรักษา
ยาระงับเชื้อและสารฆ่าเชื้อ (Antiseptics&Disinfectants)
ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยสารต้านแบคทีเรีย หรือยาปฏิชีวนะที่ใช้ภายนอก(Topical Antibiotics) จะช่วยรักษาแผล และป้องกันการติดเชื้อที่แผล
ยายับยั้งการอักเสบที่ใช้ภายนอก (Anti-Inflammatory Agent)
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอกซึ่งมียาต้านการอักเสบ มีฤทธิ์สมานแผลและยาชา
ผลิตภัณฑ์ทำแผลผ่าตัดชนิดมีตัวยา (Medicated Surgical Dressings)
ผลิตภัณฑ์ทำแผลเหล่านี้ได้รับการผลิตมาเป็นพิเศษเพื่อใช้ กับบาดแผลหลังผ่าตัด
ผลิตภัณฑ์ทำแผลบางชนิดอาจมียาต้านจุลชีพเป็นส่วนประกอบ สำหรับป้องกันการติดเชื้อที่เกิดจากกระบวนการผ่าตัดได้
Credit : ที่มา MIMS Pharmacy, Edition 2011
http://www.uptodate.com/contents/basic-principles-of-wound-management