ในยุคสมัยที่ความเร่งรีบและการแข่งขันทางธุรกิจมีอิทธิพลต่อการทำงานและการดำรงชีวิตนั้น แน่นอนว่าวัยทำงานอย่างเราๆ เงิน หรือ รายได้ เป็นปัจจัยหลักและสำคัญมาก ที่จะช่วยให้การดำรงชีวิตราบรื่น ไม่ติดขัด เพราะทุกๆ อย่าง ที่เราจับจ่ายใช้สอย ล้วนแล้วแต่จำเป็นต้องใช้เงินทั้งสิ้น
แล้วถ้าหากวันใดวันหนึ่ง โชคไม่เข้าข้างคุณเลย ถึงขั้นโชคร้ายสุดๆ จนเลือดตกยางออก ต้องล้มหมอนนอนเสื่อพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนานเป็นเดือนๆ คุณจะเอารายได้จากที่ไหนมาชำระค่ารักษาพยาบาลที่แพงแสนแพง ไหนยังจะครอบครัว คนที่อยู่ข้างหลังอีก ที่ต้องมารับภาระหาเงินแทนเรา เพื่อไม่ให้ครอบครัวลำบาก จะดีกว่าไหมถ้าคุณมีประกันสุขภาพและอุบัติเหตุไว้ติดตัวสักฉบับ ที่สามารถคุ้มครองคุณทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง ค่าการพยาบาล รวมถึงยังมีเงินชดเชยรายได้รายวัน เข้ากระเป๋าในช่วงที่คุณพักรักษาตัว โดยคำนวณให้ตามจำนวนวันที่คุณขาดงานไป
วันนี้ทางผู้เขียน จึงขอนำเสนอ แผนชดเชยรายได้รายวัน ที่จะเข้ามาชดเชยรายได้ให้ท่านและครอบครัวได้อุ่นใจ ว่าช่วงที่ท่านขาดงาน ไม่ทำงานก็ยังจะมีรายได้จากประกันชดเชยรายได้ส่วนนี้ เข้ามาช่วยเหลือ
ผลประโยชน์ความคุ้มครอง |
แผน 2 |
แผน 3 |
แผน 4 |
แผน 5 |
บุตร |
1.ผลประโยชน์การชดเชยรายได้ขณะเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในเนื่องจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ สูงสุดไม่เกิน 365 วัน ต่อการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุแต่ละครั้ง | 1,200 | 2,000 | 3,000 | 4,000 | 600 |
(คุ้มครองรวมถึงอุบัติเหตุในขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ หรือการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย) | |||||
2.ผลประโยชน์การชดเชยรายได้ขณะเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยในเนื่องจากอุบัติเหตุ สูงสุดไม่เกิน 365 วัน ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง | 1,200 | 2,000 | 3,000 | 4,000 | 600 |
(คุ้มครองรวมถึงอุบัติเหตุในขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ หรือการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย) | |||||
3.ผลประโยชน์การชดเชยรายได้ขณะเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุในห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) สูงสุดไม่เกิน 15 วัน ต่อการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุแต่ละครั้ง | 1,200 | 2,000 | 3,000 | 4,000 | 600 |
(คุ้มครองรวมถึงอุบัติเหตุในขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ หรือการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย) | |||||
4.ผลประโยชน์การชดเชยค่ารักษาพยาบาลเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง | 10,000 | 10,000 | 10,000 | 10,000 | 10,000 |
(คุ้มครองรวมถึงอุบัติเหตุในขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ หรือการถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้ายร่างกาย) | |||||
5.ผลประโยชน์คืนเบี้ยประกันภัยพิเศษกรณีประวัติดี 15% ของเบี้ยประกันภัยที่ชำระ (ทุกๆ 2 ปี) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
6.บริการช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ยามเดินทาง | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | X |
7.Cigna Care Card | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ช่วงอายุ |
แผน 2 |
แผน 3 |
แผน 4 |
แผน 5 |
บุตร(6-19 ปี) |
20 – 35 | 390 | 600 | 863 | 1,126 | 232 |
36 – 40 | 405 | 626 | 902 | 1,178 | – |
41 – 45 | 421 | 652 | 940 | 1,229 | – |
46 – 50 | 423 | 656 | 946 | 1,237 | – |
51 – 55 | 451 | 703 | 1,017 | 1,331 | – |
56 – 59 (Renewal only) | 477 | 746 | 1,083 | 1,419 | – |
โดยแผนที่ผู้เขียนนำเสนอนั้น ขอเลือกแผน 5 คุ้มครองกรณีชดเชยรายได้รายวันกรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ขณะเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) ไม่เกิน 365 วันต่อการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยแต่ละครั้ง ชดเชยรายได้สูงสุด 4,000 บาทต่อวัน ทั้งนี้มี LumSum เพิ่มเติมให้ กรณีผู้ป่วยในที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจากอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ รับชดเชยรายได้เพิ่มอีก 4,000 บาท รวมเป็นสูงสุด วันละ 8,000 บาท ลองคำนวณตามจำนวนวันที่ท่านหยุดงานไป ยกตัวอย่าง ท่านนอนพักในโรงพยาบาลจำนวน 4 วัน ชดเชยรายได้จากอุบัติเหตุวันละ 8,000 บาท รวมแล้ว ท่านจะได้รับเงินชดเชยรายได้ทั้งสิ้น 32,000 บาทเลยทีเดียว (มากกว่าเงินเดือนผู้เขียนอีกนะคะ อิอิ)
จากตัวอย่าง ท่านเห็นแล้วใช่ไหมคะ ว่ามีประกันชดเชยรายได้ มีดียังไง อย่างไรแล้ว ท่านผู้อ่าน ลองศึกษาหาข้อมูลได้นะคะ สามารถปรึกษาสอบถาม ประกันชดเชยรายได้และประกันอื่นๆ ฟรี !! ได้ที่ 02-8415050 หรือ line: @insuredd


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม